ประกันภัยรถยนต์

ประกันภัยรถยนต์

  1. ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ)
  2. ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
    • ประเภท 1
    • ประเภท 2
    • ประเภท 3
    • ประเภท 4
    • ประเภท 5 (2+ , 3+)

ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ)

การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับเป็นการประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งบังคับให้รถทุกคันที่กฎหมายกำหนด ต้องจัดให้มีการทำประกันภัย  พ.ร.บ. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครอง และช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากการใช้รถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือแม้กระทั่งคนเดินเท้า ที่ได้รับบาดเจ็บ/เสียชีวิต เพราะเหตุประสบภัยจากรถให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที โดยได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย เป็นค่ารักษาพยาบาลหรือค่าปลงศพแล้วแต่กรณี อย่างไรก็ตามกฎหมายนี้ ให้ความคุ้มครอง เฉพาะความเสียหาย ที่เกิดขึ้นแก่ชีวิตร่างกาย และอนามัยเท่านั้น ไม่รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของบุคคลแต่อย่างใด โดยความคุ้มครองที่ผู้ประสบภัยหรือทายาทจะได้รับสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้

ตารางความคุ้มครอง

แทรกรูป

ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ สำหรับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 เป็นต้นไป ผู้ประสบภัยจากรถ จะได้รับความคุ้มครอง หากได้รับความเสียหาย แก่ชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ซึ่งผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันต้องรับผิดตามกฎหมายดังนี้

  1. กรณี บาดเจ็บ บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามจริง ไม่เกิน 80,000 บาท (กรณีเป็นผู้โดยสารไม่รอการพิสูจน์ความรับผิด)
  2. กรณี เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล บริษัทจะจ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน
  3. กรณี เสียชีวิต บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 500,000 บาท
  4. กรณี สูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 200,000 - 500,000 บาท (ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ)

ค่าเสียหายเบื้องต้น

บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัทได้รับคำร้องขอ โดยไม่รอการพิสูจน์ความรับผิด ดังนี้

  1. กรณี ผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ตามจำนวนที่จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท
  2. กรณี ผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาm
  3. กรณี ผู้ประสบภัยเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายค่าปลงศพ ตามจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาท

หมายเหตุ :

  1. หากเกิดความเสียหายหลายกรณีรวมกัน จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาท
  2. กรณีที่ผู้ขับขึ่รถเป็นฝ่ายผิด หรือไม่มีคู่กรณี จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทเท่านั้น

ตารางเบี้ย

แทรกรูป

วิธีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจาก พ.ร.บ.

แทรกรูป

ประเภทรถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535

รถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ได้แก่ รถทุกชนิดทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร เป็นรถที่เจ้าของมีไว้ใช้ ไม่ว่ารถดังกล่าวจะเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์โดยสาร รถบรรทุก หัวรถลากจูง รถพ่วง รถบดถนน รถอีแต๋น ฯลฯ ดังนั้น การที่มีรถบางประเภทที่กรมการขนส่งทางบกไม่รับจดทะเบียน แต่หากเข้าข่ายว่ารถนั้นเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นแล้วก็จัดเป็นรถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ด้วย

ประเภทรถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัย พ.ร.บ.

  1. สำหรับรถเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และรถสำหรับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
  2. รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียน และมีเครื่องหมายตามระเบียบที่เลขาธิการพระราชวังกำหนด
  3. รถของกระทรวง ทบวง กรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และส่วนราชการท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น และรถยนต์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร
  4. รถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานธุรการที่เป็นอิสระขององค์กรใดๆ

ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัย พ.ร.บ.

ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถ ได้แก่ เจ้าของรถ ผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถ และผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศ การฝ่าฝืนไม่จัดให้มีประกันภัย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กฎหมายกำหนดโทษปรับไว้ไม่เกิน10,000.- (หนึ่งหมื่นบาท)

ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.

ผู้ประสบภัย  หมายถึง  ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถก็จะได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ. นี้

อัตราเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ.

กำหนดเป็นอัตราเบี้ยคงที่อัตราเดียว แยกตามประเภทรถและลักษณะการใช้รถ บริษัทไม่สามารถคิดเบี้ยประกันภัยต่างจากที่นายทะเบียนกำหนด

ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance)

เป็นการประกันภัยรถยนต์ที่กฎหมายไม่ได้มีการบังคับให้มีการทำประกันภัย ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ ของผู้เอาประกันภัยที่เล็งเห็นถึงความเสี่ยงภัยแห่งตน โดยปัจจุบันกรมธรรม์ที่ออกสู่ท้องตลาดจะให้ความคุ้มครองแบ่งตามประเภทของกรมธรรม์ดังต่อไปนี้ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย

  1. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 (Comprehensive) ให้ความคุ้มครองพื้นฐานดังต่อไปนี้

1.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย

1.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

1.3 คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

1.4 คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

  1. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 (Third Party Liability, Fire and Theft) ให้ความคุ้มครองพื้นฐานดังต่อไปนี้

2.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย

2.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

2.3 คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

  1. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 (Third Party Liability)ให้ความคุ้มครองพื้นฐานดังต่อไปนี้

3.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย

3.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

  1. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 (Third Party Property Damage Only)ให้ความคุ้มครองพื้นฐานดังต่อไปนี้

4.1 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 100,000 บาท/อุบัติเหตุแต่ละครั้ง

  1. กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5

เป็นแบบคุ้มครองภัยเฉพาะที่พัฒนาใช้งานขึ้นมาในภายหลัง แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้

ประเภท 5 (2+)

  • คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
  • คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับ*ยานพาหนะทางบก และต้องมีคู่กรณีเท่านั้น
  • คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย

ประเภท 5 (3+)

  • คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย
  • คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับ*ยานพาหนะทางบก และต้องมีคู่กรณีเท่านั้น

*ยานพาหนะทางบก ในคำจำกัดความของกรมธรรม์ประกันภัย หมายถึง รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ โดยใช้พลังงานเชื้อเพลิง เช่น น้ำมัน ก๊าซ หรือกำลังไฟฟ้าและรวมถึงรถพ่วง รถไฟ รถราง และรถพ่วง เท่านั้น

แทรกตาราง

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) oic.or.th

ประเภทความคุ้มครอง

  1. ความคุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก (Third Party Bodily Injury: TPBI)

ให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของบุคคลภายนอก และความรับผิดต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย โดยมีจํานวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจํานวน 100,000 บาทต่อคน และ 10,000 บาทต่อครั้ง ทั้งนี้จํานวนเงินจํากัดความรับผิดนี้ถือเป็นส่วนเกินจากความคุ้มครองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

  1. ความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (Third Party Property Damage: TPPD)

ให้ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายใดๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก โดยมีจํานวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจํานวน 200,000 บาทต่อครั้ง

หมายเหตุ : ความเสียหายต่อทรัพย์สินดังต่อไปนี้จะไม่ได้รับความคุ้มครอง

  • ทรัพย์สินที่ผู้เอาประกันภัย ผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ คู่สมรส บิดามารดา บุตร

ของผู้เอาประกันภัย หรือผู้ขับขี่เป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้เก็บรักษา ควบคุม ครอบครอง

  • เครื่องชั่ง สะพานรถ สะพานรถไฟ ถนน ทางวิ่ง ทางเดิน สนาม หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่อยู่ใต้สิ่งดังกล่าวอันเกิดจากการสั่นสะเทือน หรือจากน้ำหนักรถยนต์หรือน้ำหนักบรรทุกของรถยนต์
  • สัมภาระหรือทรัพย์สินอื่นใดที่นำติดตัวขึ้นบนรถยนต์ หรือทรัพย์สินที่บรรทุกอยู่ในรถยนต์ หรือกำลังยกขึ้น หรือกำลังยกลงจากรถยนต์
  • ทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจากการรั่วไหลของสารเคมีหรือวัตถุอันตรายที่บรรทุกอยู่ในรถยนต์
  1. ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์ (Own Damage: OD)

ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างเวลาประกันภัยต่อรถยนต์ รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ แต่ไม่รวมความเสียหายที่เกิดจากไฟไหม้ โดยมีจํานวนเงินขั้นต่ำที่บริษัทต้องรับประกันภัยจํานวน 50,000 บาท (รถจักรยานยนต์ 5,000 บาท) ทั้งนี้การรับประกันภัยตัวรถยนต์ไม่ควรรับประกันภัยในจํานวนเงินจํากัดความรับผิดต่ำกว่า 80% ของราคารถยนต์ในวันเริ่มการประกันภัย เว้นแต้รถยนต์ที่ไม่มีการเสียภาษีขาเข้า

  1. ความคุ้มครองความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์ (Fire and Theft: F&T)

ให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ ที่ถูก*ไฟไหม้ หรือ*สูญหายไป

*ไฟไหม้ ในที่นี้ หมายถึง ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เป็นผลมาจากไฟไหม้ ไม่ว่าจะเป็นการไหม้โดยตัวของมันเองหรือเป็นการไหม้ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสาเหตุอื่น

*สูญหาย ในที่นี้ รวมถึงความเสียหายต่อรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจําอยู่กับตัวรถยนต์ ที่เป็นผลมาจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ หรือเป็นผลมาจากการพยายามกระทำดังกล่าวนั้

  1. ความคุ้มครองเพิ่มเติม แบ่งออกเป็น 3 ความคุ้มครองหลักๆ ดังนี้
  • การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident)

บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ต่อความสูญเสียอันเกิดจากความบาดเจ็บของผู้ขับขี่และ/หรือผู้โดยสาร ซึ่งอยู่ในรถหรือกำลังขับขี่ หรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์ โดยอุบัติเหตุ

  • การประกันภัยค่ารักษาพยาบาล (Medical Expense)

บริษัทจะชดใช้ค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าผ่าตัด และค่าบริการอื่นๆ ตามที่จ่ายจริง ซึ่งเกิดขึ้นภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันเกิดอุบัติเหตุ เพื่อผู้ขับขี่และ/หรือผู้โดยสารในรถคันเอาประกันภัย ซึ่งได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย เนื่องจากอุบัติเหตุในขณะอยู่ในรถ หรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์ แต่ทั้งนี้ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย

  • การประกันตัวผู้ขับขี่ (Bail Bond)

บริษัทจะประกันตัวผู้เอาประกันภัย หรือบุคคลใดซึ่งขับรถยนต์ โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย ในกรณีรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เกิดอุบัติเหตุ เป็นเหตุให้บุคคลดังกล่าวถูกควบคุมตัวในคดีอาญา

ข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับการประกันภัยรถยนต์ที่ควรทราบ

  1. เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดความคุ้มครองในการเอาประกันภัย
    • กรณีที่แจ้งขอเอาประกันภัยล่วงหน้า ให้ถือว่าบริษัทรับประกันภัยและให้ความคุ้มครองตั้งแต่ เวลา 00.01 น.ของวัน ที่เริ่มต้นระยะเวลาประกันภัย
    • กรณีที่แจ้งขอเอาประกันภัยในวันเดียวกันกับวันที่เริ่มต้นระยะเวลาเอาประกันภัย ให้ถือว่า เวลาที่เริ่มมีผลคุ้มครองคือเวลาที่บริษัทตอบตกลงรับประกันภัย
    • เวลาสิ้นสุดความคุ้มครองคือ เวลา 16.30 น.ของวันสิ้นสุดระยะเวลาประกันภัย
  1. ความหมาย / รหัสรถยนต์ประเภทต่าง

2.1 รถที่ใช้ระบุในกรมธรรม์จะมี 3 หลัก

หลักแรก = ชนิดรถ

หลักสอง & สาม = ลักษณะการใช้รถงานรถยนต์

2.2 หลักแรก หมายถึง ชนิดของรถ ตัวอย่างเช่น

1  =  รถยนต์นั่ง                 

2  =  รถยนต์นั่งโดยสาร          

3  =  รถยนต์บรรทุก             

4  =  รถยนต์ลากจูง

5  =  รถพ่วง

6  =  รถจักรยานยนต์

7  =  รถยนต์แท็กซี่

8  =  รถยนต์อื่นๆ  

แทรกตาราง

  1. การสิ้นผลบังคับของกรมธรรม์ประกันภัย
    • วันที่ เวลา ที่ระบุไว้ในตาราง
    • มีการบอกเลิกกรมธรรม์
    • บริษัทเป็นผู้บอกเลิก บริษัทประกันภัยบอกเลิกด้วยการส่งหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน (ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้เอาประกันภัย)
    • ผู้เอาประกันภัยบอกเลิก โดยผู้เอาประกันสามารถมีสิทธิได้รับเบี้ยประกันภัยคืน ตามอัตราการคืนเบี้ยประกันภัยที่ระบุไว้ข้างล่าง

แทรกตาราง

 


18 ธันวาคม 2563

ผู้ชม 2356 ครั้ง

Engine by shopup.com